1
|
สำนักนายกรัฐมนตรี
|
คำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถาน
การณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง
ที่ 23/2563 เรื่อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 7)
|
1 กันยายน 2563
|
ให้การปฏิบัติตามคำสั่งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคงในเรื่องตามที่กำหนดในคำสั่งนี้ยังมีผลบังคับใช้ต่อไป โดยเพิ่มความเข้มงวดในการเฝ้าตรวจ สกัดกั้น และจับกุมแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมือง โดยเฉพาะพื้นที่ตามตะเข็บชายแดน ท่าข้ามธรรมชาติ พื้นที่เพ่งเล็ง พื้นที่เฝ้าระวัง เป็นต้น ตลอดจนเพิ่มมาตรการการตรวจสอบบุคคลและยานพาหนะในพื้นที่จังหวัดชายแดน
|
2
|
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
|
ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการ
ในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 6)
พ.ศ. 2563
|
1 กันยายน 2563
|
ยกเว้น บทนิยามใหม่ในข้อ 29/1 และความใหม่ในข้อ 29/3, ข้อ 29/4 และ
ข้อ 29/46 ของข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 และเป็นการบังคับใช้ภายในเขตพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่นอกเหนือจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด) นิคมอุตสาหกรรม
ผาแดง นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย นิคมอุตสาหกรรมอาร์ ไอ แอล และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2564 เป็นต้นไป
ยกเลิก แก้ไขและเพิ่มความ
เพิ่มบทนิยาม หรือเพิ่มความ หรือยกเลิก หรือยกเลิกความ หรือยกเลิกบทนิยามในข้อ 2, ข้อ 4, ข้อ 11, ข้อ 13, ข้อ 16, ข้อ 23, ข้อ 23/1, ข้อ 23/2, ข้อ 27/1,
ข้อ 28, ข้อ 29, ข้อ 29/1, ข้อ 29/3, ข้อ 29/4, ข้อ 29/46, ข้อ 30, ข้อ 32/1 และบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายร้ายแรงของข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม พ.ศ. 2551 หรือฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ได้แก่ ข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม
(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559 และข้อบังคับคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2561
1. ข้อ 2 แก้ไขคำว่า “นิคมอุตสาหกรรมเหมราชตะวันออก (มาบตาพุด)” เป็น “นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด)”
2. ข้อ 4 เพิ่มความของบทนิยามคำว่า “การตรวจรับรองตนเอง”
“การตรวจสอบหรือรับรอง” และ “การตรวจสถานประกอบการประจำปี”
3. ข้อ 11 กำหนดความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการยื่นและพิจารณาคำขออนุญาตประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม กล่าวคือ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการหรือกิจการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ
คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้ส่วนเสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงจะต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ ซึ่งเมื่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการเห็นชอบกับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมแล้ว ให้ กนอ. หรือหน่วยงานอนุญาตอื่นที่เกี่ยวข้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้อง การชำระค่าบริการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นโดยผู้ขออนุญาตประกอบกิจการ และให้ กนอ. พิจารณาคำขออนุญาตและแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบโดยเร็วภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขออนุญาต และรายละเอียดอื่นกำหนดคงเดิม
4. เพิ่มความข้อใหม่เป็นข้อ 27/1
ผู้ประกอบกิจการที่เป็นโรงงานต้องจัดให้มี “การตรวจรับรองตนเอง” ตามแบบ หรือ “การตรวจสอบหรือรับรอง” ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข และผู้ประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานต้องจัดให้มี “การตรวจรับรองตนเอง” ตามแบบ
และกำหนดให้มีการจัดส่งหรือรายงาน “การตรวจรับรองตนเอง” หรือ
“การตรวจสอบหรือรับรอง” ไปยัง กนอ.
ผู้ประกอบกิจการที่เป็นโรงงานหรือไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานที่ต้องดำเนินการ
การจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตและการตรวจประเมินความปลอดภัยกระบวนการผลิต ต้องจัดให้มีตรวจประเมินภายในและรับการตรวจประเมินภายนอกตามรอบระยะเวลาที่ กนอ. กำหนด และให้จัดส่งรายงานการตรวจประเมินภายนอกเพิ่มเติมให้แก่ กนอ. ด้วย
5. ข้อ 28 เพิ่มความเกี่ยวกับการขยายโรงงาน
กรณีที่ผู้ประกอบกิจการได้รับหนังสืออนุญาตให้ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมส่วนขยายจากทาง กนอ. แล้ว แต่ยังไม่ได้แจ้งเริ่มประกอบกิจการ
ในอุตสาหกรรมส่วนขยายตามที่ได้รับอนุญาตภายในระยะเวลา 3 ปีนับถัดจาก
วันที่ได้รับหนังสืออนุญาต ถือว่าหนังสืออนุญาตดังกล่าวเป็นอันสิ้นผล เว้นแต่
จะได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาเป็นหนังสือจาก กนอ.
6. ข้อ 29 กำหนดเกี่ยวกับหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการที่ต้องทำการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อผู้อาศัยในบริเวณข้างเคียงด้วยข้อความใหม่ และมีการเพิ่มหน้าที่ข้อใหม่ในข้อ (4) และ (6) ดังนี้
(4) ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามที่เสนอไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการของนิคมอุตสาหกรรม
(6) การประกอบกิจการที่ไม่เข้าข่ายเป็นโรงงานต้องปฏิบัติตามหน้าที่เหล่านี้ด้วย ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการโรงงาน และรวมทั้งต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับกิจการด้วย
7. ข้อ 29/1 กำหนดบทนิยามใหม่แทนคำว่า “สารเคมีอันตรายร้ายแรง” และ
คำว่า “การตรวจประเมินภายนอก” ที่ถูกยกเลิก และเพิ่มบทนิยามคำว่า "อุบัติเหตุเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยกระบวนการผลิต" และ "การขยายกำลังการผลิตที่กระบวนการผลิตเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยกระบวนการผลิต” และยกเลิกบทนิยาม “ข้อเสนอแนะ”
8. ข้อ 29/3 กำหนดผู้ประกอบอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมที่เข้าข่ายต้องดำเนินการการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตด้วยข้อความใหม่ ดังนี้
“ผู้ประกอบอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมที่มีกระบวนการผลิต ดังต่อไปนี้ ต้องดำเนินการการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิต และการตรวจประเมินความปลอดภัยกระบวนการผลิต
(1) กระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายร้ายแรงในปริมาณครอบครอง ณ เวลาใดเวลาหนึ่งเท่ากับหรือมากกว่าปริมาณที่กำหนดในบัญชีรายชื่อท้ายข้อบังคับนี้ หรือ
(2) กระบวนการผลิตที่เกี่ยวข้องกับแก๊สไวไฟหรือของเหลวไวไฟที่มีปริมาณครอบครองตั้งแต่ 4,545 กิโลกรัม หรือ 10,000 ปอนด์ขึ้นไป ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
กระบวนการผลิตตาม (1) หรือ (2) ให้หมายความรวมถึง อุปกรณ์ที่ใช้เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนเป็นเชื้อเพลิงซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องหรืออุปกรณ์ข้างเคียงหรือที่ต่อเนื่องกับกระบวนการผลิตดังกล่าวด้วย เว้นแต่การใช้เชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนดังกล่าวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตตาม (1) หรือ (2) เช่น เติมยานพาหนะ เป็นต้น”
9. ข้อ 29/4 กำหนดรอบของการตรวจประเมินภายในและรับการตรวจประเมินภายนอก และการจัดส่งรายงานการตรวจประเมินภายนอกในผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่ต้องดำเนินการการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตเป็นตามรอบระยะเวลาที่ กนอ. จากเดิมกำหนดให้ตรวจประเมินภายในทุก 1 ปีและตรวจประเมินภายนอกทุก 3 ปี
กำหนดให้จัดส่งรายงานการตรวจประเมินภายนอกเพิ่มเติมสำหรับกรณี
เมื่อเกิดอุบัติเหตุเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยกระบวนผลิตเมื่อการดำเนินการการตรวจประเมินภายนอกเพิ่มเติมนั้นแล้วเสร็จ จากเดิมไม่ได้กำหนดไว้แน่ชัด
10. ข้อ 29/46 กำหนดรอบของการตรวจประเมินภายในและรับการตรวจประเมินภายนอกในผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่ต้องดำเนินการการจัดการความปลอดภัยกระบวนการผลิตเป็นตามรอบระยะเวลาที่ กนอ. จากเดิมกำหนดให้ตรวจประเมินภายในทุก 1 ปีและตรวจประเมินภายนอกทุก 3 ปี
กำหนดให้ผู้ตรวจประเมินภายนอกต้องมีความอิสระในการตรวจประเมินและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และกำหนดให้คณะผู้ตรวจประเมินภายนอกที่ต้องมีอย่างน้อย 3 คนนั้น ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมและกระบวนการผลิต ด้านวิศวกรรมและการบำรุงรักษา และด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างน้อยด้านละ 1 คน จากเดิมกำหนดผู้ตรวจประเมินอย่างน้อยหนึ่งคนต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมและกระบวนการผลิต
11. กำหนด “บัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายร้ายแรง” ท้ายข้อบังคับนี้แทนที่ยกเลิก
12. การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องต่อโครงการหรือกิจการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อมสุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง ให้ดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 จนกว่า กนอ. จะมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องมาบังคับใช้
|
3
|
แรงงาน
|
ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน พ.ศ. 2563
|
ไม่มีประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา
|
เพิ่มความข้อ 2/2 แห่งประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอันมิใช่เนื่องจากการทำงาน ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559 เกี่ยวกับให้ผู้ประกันตนที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีสิทธิได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ณ สถานพยาบาลที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด ปีละ 1 ครั้ง (ปี 2563 ตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2563)
|
4
|
มหาดไทย
|
ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร
ว่าด้วยความสามารถในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2563
|
10 กันยายน 2563
|
เพิ่มรายละเอียดของความสามารถในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามระเบียบนี้ จากที่มีการกำหนดไว้เดิมในข้อ 14 ของข้อบังคับสภาวิศวกร ว่าด้วยมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2561
|
5
|
มหาดไทย
|
ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร
ว่าด้วยการอบรมและทดสอบความรู้เกี่ยวกับความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2563
|
10 กันยายน 2563
|
ยกเลิก
1. ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการอบรมและทดสอบความรู้
เกี่ยวกับความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2553
2. ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการอบรมและทดสอบความรู้
เกี่ยวกับความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2554
3. ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการอบรมและทดสอบความรู้
เกี่ยวกับความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2554
4. ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการอบรมและทดสอบความรู้
เกี่ยวกับความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่ 4)
พ.ศ. 2555
5. ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการอบรมและทดสอบความรู้
เกี่ยวกับความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่ 5)
พ.ศ. 2560
คำนิยาม
“การอบรมและทดสอบความรู้” หมายความว่า การอบรมและทดสอบความรู้เกี่ยวกับความพร้อมในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ด้านความปลอดภัย จรรยาบรรณ กฎหมาย สิ่งแวดล้อม และความรู้อื่นที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม”
1. ผู้ผ่านการทดสอบความรู้ในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร หรือระดับภาคีวิศวกรพิเศษ ซึ่งประสงค์จะเข้ารับการอบรมและทดสอบความรู้ ให้ยื่นคำขอเข้ารับการอบรมและทดสอบความรู้และเอกสารหลักฐานประกอบคำขอต่อสำนักงานสภาวิศวกร
2. ผู้เข้ารับการอบรมและทดสอบความรู้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทดสอบความรู้ ตามที่ระเบียบนี้กำหนด
|
6
|
มหาดไทย
|
ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร
ว่าด้วยการทดสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร พ.ศ. 2563
|
10 กันยายน 2563
|
ยกเลิก ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเข้ารับการทดสอบความรู้เพื่อขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ระดับภาคีวิศวกร พ.ศ. 2549
คำนิยาม
“ผู้เข้าสอบ” หมายความว่า ผู้มีความประสงค์สมัครเข้ารับการทดสอบความรู้
ในหมวดวิชาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมหรือหมวดวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมหรือ
ทั้งสองหมวดวิชา แล้วแต่กรณี
1. แบบใบสมัครขอเข้ารับการทดสอบความรู้ แบบใบรับรองผลการทดสอบความรู้ แบบคำขอใบแทน และใบแทนใบรับรองผลการทดสอบความรู้ ให้
เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการสภาวิศวกรกำหนด
2. ผู้เข้าสอบต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการทดสอบ
ความรู้ตามที่ระเบียบฉบับนี้กำหนด
3. รายละเอียดเกี่ยวกับหมวดวิชาพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม และหมวดวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมจำนวน 7 สาขา ได้แก่ สาขาวิศวกรรมโยธา สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ สาขาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และสาขาวิศวกรรมเคมี
ให้เป็นไปตามที่ระเบียบนี้กำหนด
|
7
|
มหาดไทย
|
ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองมาตรฐานการให้บริการวิชาชีพและมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ พ.ศ. 2563
|
10 กันยายน 2563
|
คำนิยาม
“รับรองมาตรฐาน” หมายความว่า รับรองมาตรฐานการให้บริการวิชาชีพ หรือมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพ ที่ผู้ยื่นคำขอได้จัดให้มีคณะกรรมการประจำมาตรฐาน กระบวนการจัดทำมาตรฐาน และเอกสารหลักฐานตามหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้
1. ผู้มีสิทธิยื่นคำขอรับรองมาตรฐานต้องเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและมีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพวิศวกรรม
2. มาตรฐานที่สภาวิศวกรจะให้การรับรองต้องมีลักษณะ ดังนี้
(1) มีคณะกรรมการประจำมาตรฐาน
(2) ผ่านกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องตามหลักวิศวกรรม เช่น กระบวนการทำเทคนิคพิจารณ์ การวิจัย การสืบค้น การประมวล
และการเทียบเคียง
(3) เป็นมาตรฐานที่จัดทำเสร็จสมบูรณ์และพิมพ์เผยแพร่แล้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปี
3. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการยื่นคำขอรับรองมาตรฐาน การรับรองมาตรฐาน การสิ้นสุดและการเพิกถอนการรับรองมาตรฐานให้เป็นไปตามที่ระเบียบนี้กำหนด
|
8
|
มหาดไทย
|
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศและคำสั่งของจังหวัดที่
ออกโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ตาม
พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 10)
|
10 กันยายน 2563
|
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ดังมีรายละเอียดตามประกาศและคำสั่งของจังหวัดในท้ายประกาศนี้
|
9
|
มหาดไทย
|
ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนวิศวกรอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
|
10 กันยายน 2563
|
ยกเลิก ความในข้อ 3 และข้อ 6 ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกรว่าด้วยการขึ้นทะเบียน วิศวกรวิชาชีพอาเซียน (ASEAN Chartered Professional Engineer ) พ.ศ. 2557 และให้ใช้ความตามระเบียบนี้แทน
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเกี่ยวกับการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนวิศวกรวิชาชีพอาเซียน เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ในฐานะวิศวกรวิชาชีพอาเซียน และ
การนำเสนอผลงานเกี่ยวกับประสบการณ์สาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมฯ
ตามระเบียบนี้กำหนด
|
10
|
มหาดไทย
|
ระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วยการขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรเอเปค (APEC Engineer) (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563
|
10 กันยายน 2563
|
ยกเลิก ความในข้อ 3 และข้อ 6 ของระเบียบคณะกรรมการสภาวิศวกร ว่าด้วย การขึ้นทะเบียนเป็นวิศวกรเอเปค (APEC Engineer ) พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความตามระเบียบนี้แทน
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนต่อสภาวิศวกรของผู้ที่ต้องการจะได้รับสิทธิประโยชน์ในฐานะวิศวกรเอเปค และการนำเสนอผลงานเกี่ยวกับประสบการณ์สาขาวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมฯ ตามระเบียบนี้กำหนด
|
11
|
แรงงาน
|
ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้าง และผู้ประกันตน กรณีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
|
14 กันยายน 2563
|
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้าง และผู้ประกันตนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค COVID-19 จึงลดหย่อนการออกเงินสมทบของนายจ้างและ
ผู้กันตน เช่น
1. ให้นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้รับการลดหย่อนการออกเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมประจำงวดเดือนกันยายน 2563 - พฤศจิกายน 2563 โดยให้ส่งเงินสมทบในอัตราฝ่ายละร้อยละ 2 ของค่าจ้างของผู้ประกันตน (จากเดิมร้อยละ 5 ของค่าจ้าง)
|
12
|
มหาดไทย
|
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศและคำสั่งของจังหวัดที่
ออกโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 11)
|
14 กันยายน 2563
|
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ดังมีรายละเอียดตามประกาศและคำสั่งของจังหวัดในท้ายประกาศนี้
|
13
|
มหาดไทย
|
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศและคำสั่งของจังหวัดที่
ออกโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 12)
|
14 กันยายน 2563
|
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ดังมีรายละเอียดตามประกาศและคำสั่งของจังหวัดในท้ายประกาศนี้
|
14
|
มหาดไทย
|
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศและคำสั่งของจังหวัดที่
ออกโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 13)
|
14 กันยายน 2563
|
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ดังมีรายละเอียดตามประกาศและคำสั่งของจังหวัดในท้ายประกาศนี้
|
15
|
มหาดไทย
|
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศและคำสั่งของจังหวัดที่
ออกโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 14)
|
14 กันยายน 2563
|
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจึงได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ดังมีรายละเอียดตามประกาศและคำสั่งของจังหวัดในท้ายประกาศนี้
|
16
|
มหาดไทย
|
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประกาศและคำสั่งของจังหวัดที่
ออกโดยผู้ว่าราชการจังหวัด ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 15)
|
14 กันยายน 2563
|
เพื่อเป็นการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงได้กำหนดมาตรการต่าง ๆ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ดังมีรายละเอียดตามประกาศและคำสั่งของจังหวัดในท้ายประกาศนี้
|
17
|
พาณิชย์
|
ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563
|
14 กันยายน 2563
|
นิยาม
“ขยะอิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
หรือเศษ (ไม่รวมเศษจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า) ที่มีส่วนประกอบ ซึ่งได้แก่ ตัวเก็บประจุไฟฟ้า และแบตเตอรี่อื่น ๆ สวิทซ์ที่มีปรอทเป็นองค์ประกอบในการทำงาน เศษแก้วจากหลอดรังสีแคโทด และแอกติเวเต็ดกลาสอื่น ๆ ตัวเก็บประจุไฟฟ้าที่มีสารพีซีบี หรือที่ปนเปื้อนด้วยแคดเมียม ปรอท ตะกั่ว โพลีคลอริเนทเต็ดไบฟีนิล ซึ่งเป็นของเสียเคมีวัตถุ ตามบัญชี 5.2 ลำดับที่ 2.18 ของประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย
ให้ขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามพิกัดอัตราศุลกากรตอนที่ 84 และตอนที่ 85 เฉพาะรหัสสถิติ 899 ตามบัญชีแนบท้ายประกาศนี้ เป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร
|
18
|
สาธารณสุข
|
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดให้มี
ข้อมูลเอกสารทางวิชาการยืนยันว่าเครื่องมือแพทย์ของตนมีคุณภาพมาตรฐาน ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย เพื่อการตรวจสอบหรือส่งให้แก่เจ้าหน้าที่เมื่อร้องขอ พ.ศ. 2563
|
16 กันยายน 2563
|
ประกาศนี้ให้ใช้บังคับ ดังต่อไปนี้
(1) กรณีเครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 ให้
ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2564
(2) กรณีเครื่องมือแพทย์ประเภทที่ 4 ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2564
เพื่อควบคุมเครื่องมือแพทย์ให้มีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัยจึงกำหนด
1. ให้ผู้จดทะเบียนสถานประกอบการ ผู้รับอนุญาต ผู้แจ้งรายการละเอียด หรือ
ผู้จดแจ้ง จัดให้มีข้อมูลเอกสารทางวิชาการยืนยันว่าเครื่องมือแพทย์ของตน มีคุณภาพมาตรฐาน ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย เพื่อการตรวจสอบหรือส่งให้แก่เจ้าหน้าที่เมื่อร้องขอ โดยข้อมูลเอกสารทางวิชาการเครื่องมือแพทย์ ให้มีรายละเอียดตามแนบท้ายประกาศนี้
2. กรณีเครื่องมือแพทย์ที่ยกเลิกการวางจำหน่ายในท้องตลาด ให้เก็บรักษาข้อมูลเอกสารทางวิชาการยืนยันว่าเครื่องมือแพทย์ของตนไว้ กรณีเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ได้กำหนดวันหมดอายุการใช้งานให้จัดเก็บเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปีนับแต่วันที่ผลิต หากเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตมีการกำหนดวันหมดอายุให้เก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันหมดอายุ
|
19
|
อุตสาหกรรม
|
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ของประชาชนสำหรับการประกอบ
โลหกรรม พ.ศ. 2563
|
17 กันยายน 2563
|
1. กำหนดประเภทการประกอบโลหกรรมที่ต้องจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ได้แก่ กรณีที่เป็นโครงการหรือกิจการ
ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออกตามความในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
2. การจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 6 เรื่อง ได้แก่ เรื่องดิน ตะกอนดิน น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน คุณภาพอากาศ และเสียง โดยหลักเกณฑ์ วิธีการในการจัดทำให้เป็นไปตามที่ประกาศฉบับนี้กำหนด
3. การจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่การประกอบโลหกรรม มีดังนี้
o การรวบรวมและศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
ตำบลที่โรงประกอบโลหกรรมตั้งอยู่
o การจัดทำฐานข้อมูลการสัมผัสในพื้นที่
o การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากรและตำแหน่งบ้านเรือน ใน
รัศมี 5 กิโลเมตร รอบพื้นที่โรงประกอบโลหกรรม พร้อมทั้งจัดทำแผนที่แสดงรายละเอียดและตำแหน่งที่ตั้งเพื่อเป็นฐานข้อมูล
โดยหลักเกณฑ์ วิธีการในการจัดทำให้เป็นไปตามที่ประกาศฉบับนี้กำหนด
|
20
|
อุตสาหกรรม
|
ประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน
และการเหมืองแร่ เรื่อง กำหนดให้ผู้ใช้แร่รายงานการใช้แร่ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563
|
17 กันยายน 2563
|
ยกเลิก ความในวรรคหนึ่งของข้อ 4 ของประกาศกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน
และการเหมืองแร่ เรื่อง กำหนดให้ผู้ใช้แร่รายงานการใช้แร่ พ.ศ. 2561 และ
ให้ใช้ความในประกาศนี้แทน
เพิ่มเติมรายชื่อแร่ 3 ชนิด ใน (7), (8), (9) ที่ผู้ใช้แร่ต้องแจ้งการเป็นผู้ใช้แร่และรายงานการใช้แร่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่กำหนด
(1) ชนิดแร่บอลเคลย์
(2) ชนิดแร่ดินเหนียวสี
(3) ชนิดแร่โดโลไมต์
(4) ชนิดแร่เฟลด์สปาร์
(5) ชนิดแร่ทรายแก้วหรือทรายซิลิกา
(6) ชนิดแร่ดินขาว
(7) ชนิดแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินแกรนิตเพื่ออุตสาหกรรมเซรามิก
(8) ชนิดแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินดินดานเพื่ออุตสาหกรรมเซรามิก
(9) ชนิดแร่หินอุตสาหกรรมชนิดหินไรโอไลต์เพื่ออุตสาหกรรมเซรามิก
|
21
|
เกษตรและสหกรณ์
|
ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง การกำหนดรายการข้อมูล เอกสาร
และหลักฐานเพื่อการขึ้นทะเบียน
วัตถุอันตราย พ.ศ. 2563
|
17 กันยายน 2563
|
ยกเลิก ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง การกำหนดรายการข้อมูล เอกสารและหลักฐาน เพื่อการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย พ.ศ. 2553 ลงวันที่ 27 มกราคม 2553
เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการในการยื่นเอกสารและหลักฐานเพื่อการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายที่กรมปศุสัตว์รับผิดชอบ โดยให้ผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียน
วัตถุอันตรายตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด ให้ส่งเอกสารและหลักฐานตามแบบ
วอ./กษ./กปศ. 1 โดยรายการข้อมูล เอกสารและหลักฐานเพื่อการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย ให้เป็นไปตามท้ายประกาศนี้
|
22
|
เกษตรและสหกรณ์
|
ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการควบคุมการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยา พ.ศ. 2563
|
17 กันยายน 2563
|
1. ผู้ผลิตอาหารสัตว์ที่มีส่วนผสมของยาต้านจุลชีพ ต้องทดสอบการกระจายอย่างสม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกันและทดสอบการปนเปื้อนข้ามของยา ตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่ประกาศฉบับนี้กำหนด
ทั้งนี้ ให้จัดส่งข้อมูลผลทดสอบ ในช่วงระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม ของปีนั้น ให้กองควบคุมอาหารและยาสัตว์หรือทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ของอาหารสัตว์ที่ผสมยา ภายในวันที่ 30 มิถุนายน ของปีถัดไป
2. โรงงานที่มีการผลิตอาหารสัตว์ทั้งที่ผสมยาและไม่ผสมยาในสายการผลิตเดียวกันต้องมีการจัดลำดับการผลิตอาหารสัตว์ โดยอาหารสัตว์ที่ผลิตต่อจากอาหารสัตว์ที่ผสมยา ต้องไม่ใช่อาหารสัตว์ระยะสุดท้ายหรือระยะที่กำลังให้ผลผลิต เว้นแต่มีขั้นตอนการทำความสะอาดกระบวนการผลิตอาหารสัตว์หลังจากการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยา
3. ผลการวิเคราะห์ยาในอาหารสัตว์ต้องมาจากห้องปฏิบัติการของหน่วยงานตามที่ประกาศฉบับนี้กำหนด
|
23
|
แรงงาน
|
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือหรืออุดหนุนจากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน
|
18 กันยายน 2563
|
ยกเลิก ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อช่วยเหลือหรืออุดหนุนกิจการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน และช่วยเหลือหรืออุดหนุนการดำเนินการของศูนย์ประเมินความรู้ความสามารถกลาง ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2560
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือหรืออุดหนุนจากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน แก่ผู้ประกอบกิจการ ผู้ดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ผู้ประกอบอาชีพ หรือกลุ่มผู้ประกอบกิจการตามที่ประกาศนี้กำหนด
|
24
|
แรงงาน
|
ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง กำหนดอัตราค่าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ
|
21 กันยายน 2563
|
ยกเลิก
1. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง กำหนดอัตราค่า
ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
2. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง กำหนดอัตราค่า
ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558
3. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง กำหนดอัตราค่า
ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2559
4. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง กำหนดอัตราค่า
ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559
5. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง กำหนดอัตราค่า
ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน (ฉบับที่ 5) ลงวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2561
กำหนดอัตราค่าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ทั้งหมด 7 สาขา ได้แก่
1) สาขาอาชีพช่างก่อสร้าง เช่น สาขาช่างก่ออิฐ สาขาช่างฉาบปูน เป็นต้น
2) สาขาอาชีพช่างอุตสาหการ เช่น สาขาช่างกลึง สาขาช่างเชื่อมทิก เป็นต้น
3) สาขาอาชีพช่างเครื่องกล เช่น สาขาช่างซ่อมรถยนต์ สาขาช่างสีรถยนต์ เป็นต้น
4) สาขาอาชีพช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เช่น สาขาช่างไฟฟ้าภายนอกอาคาร เป็นต้น
5) สาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ เช่น สาขาช่างเย็บ สาขาช่างสี
เครื่องเรือน เป็นต้น
6) สาขาอาชีพเกษตรอุตสาหกรรม ได้แก่ สาขานักออกแบบผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป (ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์) สาขาอาชีพภาคบริการ เช่น สาขา
ช่างแต่งผมสตรี สาขาผู้ช่วยงานแม่บ้าน สาขาพนักงานนวดไทย เป็นต้น
|
25
|
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
|
ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2563
|
21 กันยายน 2563
|
1. การจัดการงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ต้องมีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม เป็นผู้รับผิดชอบ
2. ลักษณะงานของสาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม มี 3 ลักษณะดังนี้
(1) การตรวจสอบและเฝ้าระวังทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
(2) การควบคุมและอำนวยการการปฏิบัติงานทางด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
(3) การออกแบบกระบวนการและเทคโนโลยีในการควบคุม แก้ไข และให้คำปรึกษาเพื่อป้องกัน และลดปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ
3. ประเภทงานของสาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม มี 7 ประเภท ตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับฉบับนี้
4. คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อมเฉพาะด้าน ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
o จบไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ
มีผลการศึกษาในวิชาการที่กำหนด เช่น ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมพื้นฐาน กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ระบาดวิทยา พิษวิทยา จุลชีววิทยารวมกันไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต และมีการฝึกปฏิบัติทางอนามัยสิ่งแวดล้อมไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
o มีผลการศึกษาในประเภทงานที่จะขอรับใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต ซึ่งต้องมีการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
กรณีไม่มีผลการศึกษาในประเภทงานหรือมีผลการศึกษาน้อยกว่า 3 หน่วยกิตให้ผู้ขอรับอนุญาตเข้ารับการฝึกอบรมและทดสอบความรู้ตามที่คณะกรรมการกำหนดได้
5. คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อมชำนาญการ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
o ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อมเฉพาะด้านไม่น้อยกว่า 4 ประเภท และได้ปฏิบัติงานตามประเภทงานที่ได้รับอนุญาตประเภทหนึ่งประเภทใดมาแล้ว
ไม่น้อยกว่า 3 ปี
6. ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการสภาวิชาชีพฯ และผ่านการอบรมจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
7. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ครั้งแรกให้มีอายุ 3 ปี และขอต่ออายุใบอนุญาตได้ครั้งละ 5 ปี
8. หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นขอใบอนุญาต การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสภาวิชาชีพ
|
26
|
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
|
ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาธรณีวิทยา พ.ศ. 2563
|
21 กันยายน 2563
|
1. การจัดการงานด้านธรณีวิทยา ต้องมีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาธรณีวิทยา เป็นผู้รับผิดชอบ
2. กำหนดลักษณะงานของสาขาธรณีวิทยา มี 5 ลักษณะ
3. ประเภทงานของสาขาธรณีวิทยา มี 5 ประเภทดังนี้
(1) งานธรณีวิทยาปิโตรเลียม
(2) งานธรณีวิทยาพิบัติภัย
(3) งานธรณีวิทยาวิศวกรรม
(4) งานธรณีวิทยาเหมืองแร่
(5) งานอุทกธรณีวิทยา
4. คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ สาขาธรณีวิทยา มีดังนี้
o จบไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความรู้พื้นฐานในด้านธรณีวิทยาและมีผลการศึกษาในประเภทงานที่จะขอรับใบอนุญาต
ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
o กรณีไม่มีผลการศึกษาในประเภทงานที่จะขอรับใบอนุญาต หรือมีผลการศึกษาแต่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต ให้ผู้ขอรับใบอนุญาตเข้ารับการ
ฝึกอบรมและทดสอบความรู้ตามที่คณะกรรมการกำหนด
5. ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ต้องผ่านการประเมินจากคณะกรรมการสภาวิชาชีพฯ และผ่านการอบรมจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
6. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯ ครั้งแรกให้มีอายุ 3 ปี และขอต่ออายุใบอนุญาตได้ครั้งละ 5 ปี
7. หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นขอใบอนุญาต การออกใบอนุญาตและค่าธรรมเนียมให้เป็นไปตามประกาศสภาวิชาชีพ
|
27
|
แรงงาน
|
ประกาศกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับมาตรฐานการฝึกอบรมและคุณสมบัติของคนประจำเรือในตำแหน่งคนครัวบนเรือ (ฉบับที่ 2)
|
21 กันยายน 2563
|
ยกเลิก
1. ยกเลิกความในข้อ 15 วรรคสอง และแบบ สค. 6 ของประกาศกรมพัฒนาฝีมือ
แรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับมาตรฐานการฝึกอบรม
และคุณสมบัติของคนประจำเรือในตำแหน่งคนครัวบนเรือ
2. ยกเลิกความในข้อ 11, ข้อ 17, ข้อ 18, วรรคหนึ่งของข้อ 19 และข้อ 22
ของประกาศกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
เกี่ยวกับมาตรฐานการฝึกอบรมและคุณสมบัติของคนประจำเรือในตำแหน่ง
คนครัวบนเรือ และให้ใช้แบบท้ายประกาศนี้แทน
3. ยกเลิกแบบ สค. 1 แบบ SC. 1 แบบ สค. 2 แบบ สค. 4 แบบ สค. 5 แบบ
สค. 7 และแบบ SC. 7 ตามแนบท้ายประกาศกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับมาตรฐานการฝึกอบรมและคุณสมบัติ
ของคนประจำเรือในตำแหน่งคนครัวบนเรือ และให้ใช้แบบท้ายประกาศนี้แทน
เพิ่มแบบในประกาศกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับมาตรฐานการฝึกอบรมและคุณสมบัติของคนประจำเรือในตำแหน่งคนครัวบนเรือ
o เพิ่มความเป็นวรรค 3 ของข้อ 21 เกี่ยวกับการต่ออายุหนังสือรับรองการเป็นสถานที่ฝึกอบรม
o เพิ่มความเป็นข้อ 25/1 เกี่ยวกับการยื่นแบบ สค. 8 คำขอใบแทนหนังสือรับรองการฝึกอบรม กรณีหนังสือรับรองการฝึกอบรมชำรุดหรือสูญหาย
o เพิ่มแบบ สค. 8 คำขอใบแทนหนังสือรับรองการฝึกอบรม ตามท้ายประกาศฯ
|
28
|
สาธารณสุข
|
ระเบียบคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์
การเปรียบเทียบ พ.ศ. 2563
|
22 กันยายน 2563
|
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการเปรียบเทียบผู้ต้องหาที่กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และอัตราการเปรียบเทียบตามที่ระเบียบฉบับนี้กำหนด ได้แก่ บุคคลที่มีหน้าที่ต้องแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ กรณีที่มีโรคติดต่ออันตราย โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง หรือโรคระบาดเกิดขึ้น เช่น เจ้าของหรือผู้ควบคุมสถานประกอบการ แต่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการแจ้ง ระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
|
29
|
การคลัง
|
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราภาษีศูนย์สำหรับสุราสามทับ ที่นำไปทำการแปลงสภาพเพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือ ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบที่มิได้ทำขึ้นเพื่อการจำหน่าย
|
23 กันยายน 2563
|
ยกเลิก
(1) ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใช้สิทธิเสียภาษี ในอัตราภาษีศูนย์สำหรับสุราสามทับที่นำไปทำการแปลงสภาพ เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
ที่มิได้ทำขึ้นเพื่อการจำหน่าย ลงวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2563
(2) ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใช้สิทธิเสียภาษี ในอัตราภาษีศูนย์สำหรับสุราสามทับที่นำไปทำการแปลงสภาพ เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
ที่มิได้ทำขึ้นเพื่อการจำหน่าย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563
(3) ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใช้สิทธิเสียภาษี ในอัตราภาษีศูนย์ส าหรับสุราสามทับที่นำไปทำการแปลงสภาพ เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบที่มิได้ทำขึ้นเพื่อการจำหน่าย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563
(4) ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใช้สิทธิเสียภาษี ในอัตราภาษีศูนย์สำหรับสุราสามทับที่นำไปทำการแปลงสภาพ เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบ
ที่มิได้ทำขึ้นเพื่อการจำหน่าย (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563
1. ผู้ประกอบอุตสาหกรรมที่ได้รับใบอนุญาตผลิตสุรากลั่นชนิดสุราสามทับฯ
ที่จะยื่นขอใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราภาษีศูนย์สำหรับสุราสามทับที่จะนำไปทำ
การแปลงสภาพเพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่มีแอลกอฮอล์
เป็นส่วนประกอบที่ไม่ได้ทำการขึ้นเพื่อจำหน่าย การจำหน่ายสุราสามทับแปลงสภาพ ให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่ประกาศนี้กำหนด
2. ผู้ที่ต้องการจะใช้สุราสามทับแปลงสภาพเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบที่ไม่ได้ทำขึ้นเพื่อการจำหน่ายให้ยื่นคำขออนุญาต ตามแบบ ภส.05-06.10 ท้ายประกาศนี้ ต่อสรรพสามิตพื้นที่ ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่แห่งท้องที่ที่สถานที่จะใช้สุราสามทับแปลงสภาพตั้งอยู่ โดยการขออนุญาตใช้สุราสามทับดังกล่าว ให้ขอได้ครั้งละไม่เกิน
5,000 ลิตร
|
30
|
การคลัง
|
ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราภาษีศูนย์สำหรับสุราสามทับ ที่นำไปทำการแปลงสภาพ เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือ ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อขาย
|
23 กันยายน 2563
|
ยกเลิก
(1) ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใช้สิทธิเสียภาษี ในอัตราภาษีศูนย์สำหรับสุราสามทับที่นำไปทำการแปลงสภาพ เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อขาย ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563
(2) ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใช้สิทธิเสียภาษี ในอัตราภาษีศูนย์ส าหรับสุราสามทับที่นำไปทำการแปลงสภาพ เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อขาย (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563
(3) ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใช้สิทธิเสียภาษี ในอัตราภาษีศูนย์สำหรับสุราสามทับที่นำไปทำการแปลงสภาพ เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อขาย (ฉบับที่ 3) ลงวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2563
(4) ประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใช้สิทธิเสียภาษี ในอัตราภาษีศูนย์สำหรับสุราสามทับที่นำไปทำการแปลงสภาพ เพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อขาย (ฉบับที่ 4) ลงวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563
1. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอใช้สิทธิเสียภาษีในอัตราภาษีศูนย์สำหรับสุราสามทับที่นำไปทำการแปลงสภาพเพื่อใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อขาย และการขอแปลงสภาพสุราสามทับ
2. ผู้ที่ต้องการจะยื่นคำขออนุญาตเป็นผู้ใช้สุราสามทับแปลงสภาพเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อขาย ให้ยื่นคำขอตามแบบ ภส.05-06/13 ท้ายประกาศนี้ ต่อสรรพสามิตพื้นที่ ณ สำนักงานสรรพสามิตพื้นที่ที่สถานที่จะใช้สุราสามทับแปลงสภาพตั้งอยู่ ซึ่งการขออนุญาตให้ขอได้ครั้งละไม่เกิน 5,000 ลิตร
|
31
|
มหาดไทย
|
คำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยที่ 2/2563 เรื่อง
การกำหนดเงื่อนไขในการอนุญาต
ให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามา
ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว
|
25 กันยายน 2563
|
เพื่อความมั่นคงปลอดภัยทางด้านสาธารณสุขของประเทศและป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดระลอกใหม่ จึงมีคำสั่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ให้ระงับการกำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง ทั้งหมด
18 ประเทศ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562
|
32
|
คมนาคม
|
ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 98/2563
เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการเรือ ผู้ประกอบการท่าเรือ เจ้าของเรือ นายเรือ ผู้ควบคุมเรือและผู้โดยสารปฏิบัติ กรณีที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
|
28 กันยายน 2563
|
ยกเลิก
1. ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 54/2563 เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการเรือ ผู้ประกอบการท่าเรือ และผู้โดยสารปฏิบัติ กรณีที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 26 มีนาคม 2563
2. ประกาศกรมเจ้าท่า ที่ 65/2563 เรื่อง กำหนดให้ผู้ประกอบการเรือ เจ้าของเรือ นายเรือ ผู้ควบคุมเรือ และผู้โดยสารปฏิบัติ กรณีที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 2 เมษายน 2563
เพื่อผ่อนคลายมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สำหรับกิจกรรมการเดินเรือและท่าเรือ จึงกำหนด
1. ให้ผู้ประกอบการเรือ ผู้ประกอบการท่าเรือ เจ้าของเรือ นายเรือ ผู้ควบคุมเรือ และผู้โดยสารปฏิบัติ ปฏิบัติตามที่กำหนดในประกาศนี้ เช่น การทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค, จัดวางแอลกอฮอล์หรือเจลล้างมือ, คัดกรอง (วัดอุณหภูมิ), สวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า, เว้นระยะห่างระหว่างกัน เป็นต้น และดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 5) โดยเคร่งครัด
2. กรณีที่ผู้โดยสารไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้ ห้ามมิให้ผู้ประกอบการเรือ เจ้าของเรือ นายเรือ และผู้ควบคุมเรือ ให้เรือออกจากท่าเทียบเรือ
|
33
|
สาธารณสุข
|
ประกาศศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณี
โรคติดเชื้อโควิด - 19 เรื่อง รายชื่อสถานพยาบาลรองรับการเป็นสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก (Alternative Hospital Quarantine) ฉบับที่ 2
|
29 กันยายน 2563
|
กำหนดให้สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ดังรายนามแนบท้ายประกาศนี้ เป็นสถานพยาบาลรองรับการเป็นสถานกักกันในโรงพยาบาลทางเลือก
|
34
|
สำนักนายกรัฐมนตรี
|
ประกาศ เรื่อง การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใน
ทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
(คราวที่ 6)
|
29 กันยายน 2563
|
เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคในประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศไทยมีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ต้องควบคุมดูแลมิให้เกิดการระบาดภายใน
ประเทศ จึงจำเป็นต้องขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2563
|
35
|
สำนักนายกรัฐมนตรี
|
ประกาศ เรื่อง การให้ประกาศที่คณะรัฐมนตรีกำหนดตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
|
29 กันยายน 2563
|
เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปฏิบัติการป้องกัน แก้ไข ระงับยับยั้ง ฟื้นฟู
หรือช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ฉุกเฉินจึงกำหนดให้บรรดาประกาศ
ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่
ทั่วราชอาณาจักร ยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
|
36
|
สำนักนายกรัฐมนตรี
|
ประกาศ เรื่อง การให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนด ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงมีผลใช้บังคับ
|
29 กันยายน 2563
|
กำหนดให้บรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่นายกรัฐมนตรีกำหนดขึ้น
ตามประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่
25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และตามประกาศขยายระยะเวลา
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ยังคงมีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่านายกรัฐมนตรีจะกำหนดเป็นอย่างอื่น
|
37
|
มหาดไทย
|
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวก
อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (ฉบับที่ 4)
|
30 กันยายน 2563
|
1. ขยายระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.
คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประกาศนี้ ไปพลางก่อน ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2563
2. ขยายระยะเวลาการแจ้งที่พักอาศัยตามมาตรา 37 (5) แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามประกาศนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2563
|
#
|
สาธารณสุข
|
ประกาศสำนักงานคณะกรรมอาหารและยา เรื่อง การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขภาพอนามัยสำหรับมือในสถานที่ผลิตยาแผนปัจจุบัน (ฉบับที่ 2)
|
ไม่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
|
ยกเลิก ความในข้อ 2 ของประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขอนามัยสำหรับมือในสถานที่ผลิตยาแผนปัจจุบัน ประกาศ ณ วันที่ 5 มีนาคม 2563
เพื่อบรรเทาความขาดแคลนผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นในการป้องกันโรคติดเชื้อ จึงให้ขยายระยะเวลาการอนุญาตให้ผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเพื่อสุขภาพสำหรับมือในสถานที่ผลิตยาแผนปัจจุบันชั่วคราว จากเดิมกำหนดไว้ 6 เดือน ขยายเป็น 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต ในกรณีที่จำเป็นอาจอนุญาตให้ดำเนินการผลิตต่อไปได้คราวละไม่เกิน 1 ปี
|